3.สามารถทำความสะอาดและเก็บกวาดความเสียหายได้ แต่ให้เก็บซากของทรัพย์สินที่เสียหาย แยกออกมาตั้งกองไว้ที่ใดที่หนึ่ง ห้ามทิ้งเด็ดขาด โดยเฉพาะถ้าเป็นซากของสินค้าที่เสียหาย เช่น
- สินค้าที่บรรจุอยู่ในกล่อง ได้รับความเสียหายจาก ท่อน้ำภายในอาคารที่แตก รั่วลงมา ทำให้สินค้าเปียก ให้แยกสินค้าที่เปียกออกมา
- ไฟไหม้บ้าน โต๊ะกินข้าว เสียหายจากไฟไหม้ แต่ทีวี ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ฉีดเพื่อดับเพลิง ให้แยกทรัพย์สินที่เสียหายออกมากองไว้
ทั้งนี้เพราะ เมื่อบริษัทประกันทำการจ่ายค่าสินไหมให้กับเราแล้ว ซากทรัพย์สินต่างๆ เหล่านี้จะกลายเป็นกรรมสิทธิ์ ของบริษัทประกันภัยทันที บริษัทประกันภัยจะเลือกเองว่าทรัพย์สินส่วนใดที่เขาจะนำไปดำเนินการต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าสินไหมบางส่วนที่ได้จ่ายไป ดังนั้นซากต่างๆต้องเก็บไว้ห้ามทิ้ง เพราะจะมีผลต่อการเรียกร้องค่าสินไหม
4.ทำการสรุปรายการทรัพย์สินที่เสียหาย โดยแยกเป็น
- ทรัพย์สินที่ต้องทำการซ่อมแซม เช่นฝ้าเพดาน วงกบ พื้นกระเบื้อง ที่โดนไฟไหม้ อันนี้ให้ช่างมาตีราคาแยกรายละเอียดให้ชัดเจนว่า ขนาดพื้นที่เท่าใดที่เสียหาย และคิดราคาซ่อมต่อหน่วยเท่าใด
- ทรัพย์สินที่เสียหาย และไม่สามารถซ่อมได้ เช่น ตู้เสื้อผ้า , สต็อกสินค้าต่างๆ
ทรัพย์สินประเภทนี้ ให้ทำการ แยกประเภททรัพย์สินที่เสียหายและทำการนับจำนวนที่เสียหาย โดยแยกตาม ประเภทของทรัพย์สินที่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น
5.ในส่วนของสาเหตุความเสียหาย ถ้าเป็นสาเหตุที่มีความเกี่ยวข้องกับคดีอาญา เช่น ไฟไหม้ จะต้องมีการบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้วย เพราะทางประกันภัยจะใช้ ใบบันทึกประจำวัน นี้เป็นหลักฐานประกอบการการเปิดเคลม
– ตู้เสื้อผ้า 1 ใบ เป็นแบบใด ทำจากวัสดุใด ขนาดเท่าไหร่ ราคาเท่าไหร่
– สต็อกสินค้าประเภทรองเท้า ก็ให้แยกว่า แต่ละรุ่นนี้เสียหายจำนวนกี่คู่ แต่ละคู่ราคาเท่าใด