ประกันการตกแต่งร้านค้า,ห้อง,คอนโด ประกันระหว่างก่อสร้าง ทำเพราะทางอาคารบังคับให้ทำ เหตุผลแค่นี้จริงหรือ ? ( ตอนที่ 1 )
ทำไมถึงต้องทำประกันระหว่างตกแต่งห้อง ประกันระหว่างปรับปรุงห้องหรือระหว่างการก่อสร้าง ความสำคัญของประกันตกแต่งห้องหรือประกันระหว่างก่อสร้าง ประกันประเภทนี้มีความจำเป็นแค่ไหน? เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันก่อสร้าง ลองอ่านกรณีศึกษานี้ดูเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับเหมาที่เข้าไปปรับปรุงห้อง ตกแต่งคอนโด ปรับปรุงอาคาร หรือ ตกแต่งร้านค้าตามห้างและพลาซ่าต่างๆ
เช้าวันหนึ่งกลางสัปดาห์ ในขณะที่เสียงรถยนต์วิ่งกันอย่างขวักไขว่อยู่ภายนอก นายบันทิศพนักงานหนุ่มบริษัทโบรกเกอร์ประกันได้เดินทางมาถึงห้างใหญ่ริมถนนสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่กำลังจะเปิดตัวเพื่อให้บริการลูกค้าปลายปีนี้
เมื่อเดินเข้าไปในอาคารเสียงรถยนต์ก็แปรเปลี่ยนเป็นเสียงอึกทึกจากการต่อเติมและตกแต่ง ร้านค้าแต่ละร้านซึ่งอยู่ภายในห้างนั้น
ทันใดนั้นบันทิศ ก็พบกับคุณเก๋ พนักงานสาวสวยของห้างดังกล่าว ที่ทำหน้าที่ดูแลประสานงานกับร้านค้าแบรนด์ดังต่างๆ
“สวัสดีคะ ใช่คุณบันทิศรึเปล่าคะ นี่เก๋เองค่ะ” พนักงานสาวสวยไฟแรงในการทำงานกล่าวต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
“ครับผม สวัสดีครับคุณเก๋ เห็นบอกว่าจะให้ผมมาคุยกับผู้รับเหมาเรื่องการทำประกันระหว่างก่อสร้าง”
“ใช่คะ พอดีทางเรามีนโยบายให้ทางร้านค้าแต่ละร้านที่กำลังปรับแต่งห้อง ทำประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้รับเหมาทำงานอยู่ แต่เบื้องต้นแจ้งไปแล้วผู้รับเหมาส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและยังไม่เห็นถึงความสำคัญนัก จึงรบกวนคุณบันทิศให้เข้ามาชี้แจงรายละเอียด”
“ด้วยความยินดีครับ” ชายหนุ่มตอบรับ พร้อมเดินไปกับ พนักงานสาวเพื่อไปพบผู้รับเหมา
ทั้งคู่เดินไปที่ชั้น 2 ของตัวอาคาร โซนหน้าที่ติดกับถนนใหญ่ โดยทั้งคู่ไปหยุดที่ห้องๆ หนึ่ง ซึ่งภายในกำลังทำการตกแต่งห้องกันอย่างพัลวัน เพื่อให้ทันตามหมายกำหนดการที่ต้องส่งมอบห้อง
“คุณดุสิต คุณดุสิตคะ เก๋รบกวนเวลาซักครู่ซิคะ พอดีทางประกันมาแล้วจะให้อธิบายเรื่องประกันผู้รับเหมาให้ฟังคะ”
ไม่นานนักชายวัยกลางคน หุ่นล่ำ ก็เดินออกมาจากห้องนั้น ในมือยังถือตลับเมตรสีแดงสด
“ครับคุณเก๋ ตกลงต้องทำจริงๆ หรือไอ้ประกันตัวนี้อะ ผมทำงานมาหลายอาคารแล้วไม่เห็นที่ไหนบังคับให้ทำเลย และที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยทำให้ใครได้รับความเสียหาย เสียตังส์เปล่าๆ ครับ”
“คุณดุสิตคะ อย่างที่เก๋แจ้งค่ะ มันเป็นกฎของที่นี่ เพราะมันบอกไม่ได้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้น และความเสียหายจะเกิดกับใครบ้าง” พนักงานสาวสวยผู้มีสายตามุ่งมั่นในการทำงานกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนน้อมเพื่ออธิบายให้เข้าใจ
ทันใดนั้นบันทิศก็เสริมขึ้นมา “คุณเก๋เริ่มขึ้นมาก็ดีแล้วครับ พี่ดุสิตผมขออธิบายถึงความคุ้มครองนะครับเพื่อจะได้เห็นภาพ”
“จริงๆ แล้ว ประกันระหว่างก่อสร้าง ตัวนี้มีรายละเอียดเยอะมาก แต่ผมจะอธิบายหลักใหญ่ๆ นะครับเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ ประกันตัวนี้แบ่งความคุ้มครองเป็น 3 ส่วนนะครับ
ส่วนแรกก็คือมูลค่างานรับเหมา กับตัวทรัพย์สินที่มีอยู่เดิม ( Existing Property ) เอากันง่ายๆ มูลค่างานก็คือ มูลค่าจากการเข้ามาปรับแต่งห้องนี้ละครับพี่ เช่นพี่อาจจะรับงานมาทั้งหมด 1 ล้าน เวลาคิดพี่ต้องคิดเอามูลค่าสูงสุดของงานนะครับ ไม่ใช่ว่าตอนนี้พี่เพิ่งทำพื้น เพิ่งวางระบบน้ำไป มูลค่าแค่ 200,000 บาท ก็เลยทำแค่นั้น ไม่ได้นะครับเพราะเวลาเกิดเหตุจะมีผลต่อการเคลม ส่วน Existing Property ในกรณีนี้ก็คงเป็นตัวอาคารของห้างนี่แหละครับ เห็นคุณเก๋บอกว่า ทางห้างกำหนดให้ทำในวงเงิน 4 ล้านบาท สำหรับร้านค้าที่มีพื้นที่เกิน 100 ตรม.
ส่วนที่สองก็คือ ตัวเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือของพี่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานก่อสร้างใหญ่ๆ ซึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้มีราคาแพงครับเขาถึงทำคุ้มครองไว้ แต่กรณีของที่นี่ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำ
ส่วนสุดท้ายก็คือคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ 3 ครับ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของทรัพย์สินหรือร่างกาย ก็ตามแต่”
พี่ดุสิต ถามเพิ่มเติมทันทีว่า “อย่างนี้ถ้าเป็นพนักงานของผมบาดเจ็บจากการทำงานจะเรียกร้องได้ไหม”
“ไม่ได้ครับพี่ บุคคลที่ 3 หมายถึง บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันในทางหนึ่งทางใดครับ ถ้าพี่ต้องการให้คุ้มครองพนักงานผมแนะนำให้พี่ทำประกันอุบัติเหตุ ( PA ) ให้กับพนักงานจะดีกว่า”
บันทิศใช้เวลาในการอธิบายเพื่อให้เห็นภาพรวม ของการประกัน ในขณะที่พี่ดุสิต ก็ยังไม่เห็นถึงความสำคัญนัก คิดแต่เพียงว่าทางอาคารให้ทำ ก็เลยต้องทำ
“พี่ดุสิตคะ งั้นเก๋ให้พี่ดุสิต คุยกับคุณบันทิศ โดยตรงเรื่องการประกันนะคะ แล้วได้เอกสารยังไงก็รบกวนส่งให้เก๋ด้วย พอดีเก๋มีประชุมกับอีก 2 แบรนด์คะ ต้องขอตัวก่อนนะค่ะ” พนง.สาวสวยกล่าวทิ้งท้ายพร้อมกับจากไปด้วยรอยยิ้ม
จากนั้นดุสิต ก็หันมาถามทางบันทิศว่า “แล้วเบี้ยประกันมันเท่าไหร่หละ”
“เบี้ยประกันขึ้นอยู่กับทุนประกันครับ พี่จะทำทุนประกันมูลค่างาน และคุ้มครองบุคคลที่ 3 เท่าไหร่ครับ เพราะตัวอาคารรู้แล้วว่าต้องทำที่ 4 ล้านบาท”
“เอายังไงก็ได้ เอาถูกๆ แล้วกัน มูลค่างานผมอย่างมากก็ 4 แสนบาท บุคคลที่ 3 ก็ทำเป็นน้ำจิ้มแค่ 2 แสนแล้วกัน”
“ผมเอาข้อมูลตามพี่เลยนะครับ ดังนั้นทุนประกัน รวมก็จะเป็น 4 ล้าน 6 แสน เบี้ยประกันก็อยู่ที่เท่านี้ครับ” บันทิศกล่าวกับดุสิต พร้อมกับโชว์ตัวเลขในเครื่องคิดเลข
“โฮ ทำไมแพงจัง ถ้าทางอาคารไม่บังคับ ผมไม่ทำหรอก แล้วผมต้องทำอย่างไรต่อละเนี่ย”
“ผมรบกวนพี่กรอกแบบฟอร์ม หน่อยครับ พร้อมกับชำระเงินตามยอดที่ผมแจ้งไป” บันทิศกล่าวตอบด้วยน้ำเสียงนิ่งๆ
คุณดุสิต ส่ายหน้าไปมาด้วยความเสียดาย แล้วก็ก้มลงกรอกรายละเอียด ท้ายสุดก็กัดฟันหยิบเงินขึ้นมาเพื่อชำระค่าเบี้ยประกัน
“ขอบคุณครับพี่ เดี๋ยวผมจะรีบส่งงานให้ แล้วจะส่ง Cover Note ( เอกสารที่บริษัทประกันออกเพื่อเป็นการรับประกันการคุ้มครองชั่วคราวก่อนที่จะได้กรมธรรม์ ) ให้พี่กับคุณเก๋ นะครับ ยังไงรบกวนขอ E-Mail พี่ด้วยครับ”
“อ๋อเกือบลืมบอกไป ในกรมธรรม์จะมีความเสียหายส่วนแรก 50,000 บาทนะครับ”
พี่ดุสิต หันมามองด้วยความสงสัยแต่ก็ไม่ได้ถามอะไรต่อ หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ต่างกลับไปทำงานของตน
***** เหตุการณ์จะเป็นเช่นไรโปรดติดตามตอนต่อไป *****
สนใจซื้อประกันระหว่างตกแต่งร้านค้า,ห้องพัก,คอนโด ติดต่อ 02-848-9858-9 / 083-246-3599 หรือ กรอกข้อมูลให้ติดต่อกลับด้านล่าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : http://www.kstronginsure.com/read/102 |