อยากซื้อประกันน้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ คุณต้องรู้จักกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ และภัยเพิ่มภัยธรรมชาติ
หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในวงการประกันภัยของประเทศไทย โดยเฉพาะการประกันทรัพย์สินที่เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ ไม่ใช่เพียง ภัยน้ำท่วมเท่านั้น แต่ได้ขยายผลถึง ภัยแผ่นดินไหว และ ภัยลมพายุด้วย เนื่องจากต้นทุนในการทำประกันภัยธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นมาทันที และบางบริษัทก็ปฎิเสธการรับประกัน โดยเฉพาะภัยน้ำท่วม ด้วยเหตุผลนี้เองทางรัฐบาลจึงมีการออก พรก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ปี 2555 โดยจัดตั้งเป้นกองทุนภัยพิบัติขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมกับเตรียมรับมือภัยธรรมชาติที่อาจสร้างเสียหายแก่ธุรกิจและบ้านเรือน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
หลังจากนั้นในวันที่ 28 มีนาคม 2555 จึงเกิดกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ อย่างเป็นทางการ โดยมีบริษัทประกันภัยเข้าร่วม 54 บริษัท โดยลักษณะของกรมธรรม์ประกันภัยพิบัตินี้ ในทางประกันภัยเรียกว่า กรมธรรม์มาตราฐาน คือเนื้อหา ความคุ้มครอง เงื่อนไข จะเป็นแบบเดียวกันหมดไม่ว่าจะขายผ่านบริษัทประกันใด ( ประกันรูปแบบนี้มีแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ) ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายของการเกิดขึ้นของกรมธรรม์ เน้นไปที่สวัสดิการณ์ และ ผลประโยชน์ของสังคม มากกว่าการหารายได้ทางธุรกิจ
แต่เนื่องจากกรมธรรม์ประภทนี้ยังใหม่มากในบ้านเรา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ผู้ที่สนใจจะซื้อจะต้องทำความรู้จักในเงื่อนไขและรายละเอียด ในตัวกรมธรรม์ภัยพิบัติ ฉบับนี้เสียก่อน เพราะการเรียกร้องค่าสินไหมนั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขเบื้องต้นที่กำหนดไว้ก่อน จึงจะสามารถเรียกร้องได้
โดยสามารถ ดูเนื้อหาเบื้องต้นได้จาก
ความรู้เรื่องกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ
แต่การซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ นั้นก็ใช่ว่าทุกครั้งที่ผู้เอาประกันที่ซื้อเกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือลมพายุ แล้วจะสามารถ เรียกร้องค่าสินไหมได้ เพราะถ้ารัฐบาลไม่มีการประกาศว่าเป็นภัยพิบัติ หรือไม่เข้าเงื่อนไข อีก 2 ข้อ กรมธรรม์ประกันภัยพิบัตินั้น ก็จะไม่ทำงาน ดังนั้นท่านจึงต้องรู้จักกับประกันภัยธรรมชาติอีกแบบหนึ่ง คือการซื้อประกันภัยเพิ่ม ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ซึ่งจะมาปิดช่องว่าง ที่เหลือ
ความรู้เรื่องประกันภัยธรรมชาติ ภัยเพิ่ม
โดยผมชี้แจงสรุป เนื้อหาของการประกันภัยทั้ง 2 ประเภทดังนี้
1. ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภับพิบัตินั้น จัดตั้งโดยกองทุนภัยพิบัติ บริษัทประกันมีหน้าที่เพียงขายกรมธรรม์ เงินที่ได้จากเบี้ยประกัน 99% ( บริษัทประกันรับสัดส่วนความเสี่ยงเพียง 1% ) จะต้องส่งมอบเข้ากองทุน ในขณะที่หัวกรมธรรม์เป็นชื่อบริษัทประกันภัยที่ขาย ดังนั้นเวลาเคลมความเสียหาย บริษัทประกันภัยจึงกำหนดว่าจะจ่ายค่าสินไหมได้ต่อเมื่อได้รับเงินจากกองทุนภัยพิบัติครบถ้วนตามสัดส่วนแล้วเท่านั้น
ดังนั้น ข้อควรรู้คือ
1.1 ระยะเวลาในการจ่ายค่าสินไหม อาจต้องใช้เวลานาน เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน คือกองทุนภัยพิบัติต้องจ่ายบริษัทประกันภัยก่อน บริษัทจึงจะจ่ายผู้เอาประกัน
1.2 ผู้บริหารกองทุน ภัยพิบัติ ต้องมีความสำคัญมาก และต้องบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหมายถึงเงินกองทุนซึ่งก็คือเงินที่จะใช้จ่ายค่าสินไหมนั่นเอง
2. การเรียกร้องค่าสินไหม จะเรียกได้เพียงกรมธรรม์ใดกรมธรรม์หนึ่งเท่านั้น คือในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหวแล้ว รัฐบาลประกาศว่าเป็นภัยพิบัติ ( หรืออาจเข้าอีก 2 เงื่อนไข ) ก็จะสามารถเรียกค่าสินไหมได้จาก กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ แต่ไม่สามารถเรียกร้องได้จากภัยแผ่นดินไหวที่ซื้อเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันภัยหลัก ทั้งนี้เพราะต้องเข้าใจว่าการออกแบบกรมธรรม์นี้ มาเพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติที่กระทบผู้คนเป็นวงกว้าง ดังนั้นการเรียกร้องจะต้องไม่ซ้ำซ้อน เพราะต้องมองถึงระบบประกันโดยรวม เนื่องจากถ้าสามารถเรียกร้องได้ทั้ง 2 กรมธรรม์ ก้จะมีผลกระทบต่อต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงในอนาคตตามมา
ดังนั้น ข้อควรคิดคือ สมมติเป็นบ้านพัก ทุนประกัน 3 ล้านบาท และซื้อภัยเพิ่ม แผ่นดินไหว 500,000 บาท แต่ซื้อกรมธรรม์ภัยพิบัติ ซึ่งถูกกำหนดว่าบ้านพักซื้อได้ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีเกิดแผ่นดินไหว แล้วบ้านหลังนี้ได้รับความเสียหาย 300,000 บาท แล้วสามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ภัยพิบัติ ดังนั้น ผู้เอาประกันจะเรียกร้องได้เพียง 100,000 บาท จากกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ เท่านั้น ไม่สามารถเรียกจากภัยเพิ่มที่ซื้อได้ จึงดูเหมือนว่าไม่ยุติธรรม ซึ่งประเด็นนี้อาจส่งปัญหาได้ในอนาคต ดังนั้นการซื้อความคุ้มครองภัยเพิ่มว่าควรซื้อที่ทุนประกันเท่าใดก็ต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย
3. กรมธรรม์ที่ได้รับจะประกอบด้วย 2 กรมธรรม์คือ กรมธรรม์หลักซึ่งคุ้มครอง ไฟไหม้ และ ภัยเพิ่มอื่นๆ ที่ซื้อ เป็นหนึ่งกรมธรรม์ และ กรมธรรม์ภัยพิบัติจะแยกออกมาอีก 1 ฉบับ
บทความที่เกี่ยวข้อง : http://www.kstronginsure.com/read/161 |